ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ภัยใกล้ตัวที่หนุ่มสาวไม่ควรมองข้าม
“ผมร่วงเป็นหย่อม” เป็นปัญหาเส้นผมที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศหญิงและเพศชาย ที่สำคัญยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว เพราะภาวะดังกล่าวมักไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ให้ต้องระวัง ไม่มีอาการคัน ไม่รู้สึกระคายเคือง ไม่เป็นขุย ไม่เป็นผื่นแดง แต่จะรู้ตัวอีกครั้งก็ตอนที่ผมร่วงจนเห็นหนังศีรษะ หรือคนรอบตัวเริ่มทักถึงความผิดปกติบนหนังศีรษะเสียแล้ว
แน่นอนว่าทุกคนคงไม่ต้องการให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียบุคลิกภาพแล้ว ยังทำลายความมั่นใจในการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และไม่กล้าพบปะกับใคร ๆ ผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากอะไร? มีวิธีไหนที่ช่วยรักษาได้บ้าง และโรคผมร่วงเป็นหย่อมหายเองได้หรือไม่ วันนี้ The Skin Clinic รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวมาบอกต่อทุกคน
ผมร่วงเป็นหย่อมพบบ่อยแค่ไหน? มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เป็นโรคที่เชื่อว่าเกิดมาจากความผิดปกติของร่างกาย หรือระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่เข้าไปทำลายต่อมรากผมจนทำให้ผมร่วง โดยโรคนี้สามารถพบได้ในทั้งเพศหญิงและเพศชาย เฉลี่ยแล้วมักเกิดขึ้นประมาณ 2% หรือประมาณ 1 ใน 1,000 คน ที่สำคัญมักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งโรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับเส้นผมบนหนังศีรษะเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย เช่น ขนคิ้ว ขนตา หนวดเครา ขนรักแร้ เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคผมร่วงเป็นหย่อม มีดังนี้
– ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว
– มีความเครียดสะสม
– ป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคด่างขาว เป็นต้น
– การได้รับยาบางชนิดที่มีผลต่ออาการผมร่วง
– เล็บมือเล็บเท้าผิดปกติ เช่น หน้าเล็บขรุขระ เล็บบาง สีเล็บแปลกไป เป็นต้น
– พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติผมร่วงเป็นวง หรือป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันมาก่อน

โรคผมร่วงเป็นหย่อม กับ ผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา แตกต่างกัน
หลายคนมักสับสนว่าโรคผมร่วงเป็นหย่อมกับผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อราเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วภาวะผมร่วงเป็นหย่อมทั้งสองแบบมีความต่างกัน ทั้งในเรื่องของสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา เนื่องจากโรคผมร่วงเป็นหย่อมมักเกิดจากการอักเสบใต้ผิวหนัง ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา กลับกันผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อราจะเกิดจากปัจจัยภายนอก(เชื้อรา) ที่ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบร่วมกับอาการผิดปกติที่บ่งบอกอย่างชัดเจน เช่น ผมร่วงเป็นกระจุก มีอาการบวมแดง อักเสบ มีสะเก็ดแผล และมีขุยสีขาวตรงบริเวณที่มีปัญหา เป็นต้น
ในส่วนของคำถามที่ว่าโรคผมร่วงเป็นหย่อมหายเองได้ไหม? คำตอบคือโรคผมร่วงเป็นหย่อมในบางรายสามารถหายเองได้ โดยเริ่มต้นจากการรักษาที่ระบบภูมิคุ้มกัน หรือรักษาที่ต้นเหตุอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาผิวหนัง แต่ในส่วนของผมร่วงเป็นหย่อมที่เกิดจากเชื้อรา จำเป็นต้องรักษาด้วยการทายาหรือรับประทานยาจนกว่าเชื้อราจะหายไป ที่สำคัญโรคผมร่วงเป็นหย่อมคนไข้มีโอกาสที่เส้นผมจะงอกกลับมาตามปกติถึง 60% ภายใน 1 ปี แต่สำหรับภาวะผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อราแม้จะหายดีแล้ว แต่มักทิ้งรอยแผลเป็นและส่งผลทำให้ผมบริเวณนั้น ๆ ไม่สามารถงอกใหม่ได้อีกด้วย
สำหรับวิธีรักษาผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันและเชื้อรา มีหลายวิธีทั้งวิธีธรรมชาติ อย่างการใช้สมุนไพรรักษาผมร่วงเป็นหย่อม เช่น ใบมะกรูด ใบบัวบก ขิง ใบชะคราม ฯลฯ ไปจนถึงนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างการปลูกผม ที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่มีภาวะผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา ตลอดจนผู้ที่มีภาวะหัวล้านหรือถูกกระชากผมจนทำให้หนังศีรษะล้านแบบเห็นได้ชัด
หมายเหตุ : หากมีภาวะผมร่วงเป็นหย่อมแบบไม่มีสาเหตุ มีพฤติกรรมดึงผมบริเวณเดิมซ้ำ ๆ หรือมีความผิดปกติในร่างกาย แนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายบางอย่างที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
The Skin Clinic รักษาภาวะผมร่วงเป็นหย่อมด้วยการปลูกผมที่ปลอดภัย
ผมร่วงเป็นหย่อมรักษาที่ไหนดี? ที่ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ปลอดภัย และใช้เวลาไม่นาน แนะนำเข้ารับบริการปลูกผมที่ The Skin Clinic นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน ศีรษะไข่ดาวได้อย่างตรงจุด โดยที่ The Skin Clinic มีเทคนิคปลูกผม 5 เทคนิคให้คนไข้เลือกใช้บริการตามความเหมาะสม ดังนี้
ปลูกผมเทคนิค Long Hair FUE
Long Hair FUE เป็นการปลูกผมแบบไม่ต้องตัดผมสั้น ไม่ต้องโกนผม ไม่ต้องผ่าตัด และเห็นแนวผมหลังการทำได้ทันที โดยแพทย์จะใช่เครื่องมือหัวเจาะพิเศษที่มีขนาดเล็กมาก เพื่อทำการเจาะรูแล้วดึงเส้นผมและเซลล์รากผมออกมาเป็นเส้นยาว (Celebrity Hair Transplant) จากนั้นแพทย์จะนำรากผมที่ได้มาคัดแยกเอาเซลล์ผมที่แข็งแรงและนำกลับไปปักลงบริเวณที่มีปัญหา เห็นแนวผมสวยเป็นธรรมชาติ ไม่เห็นแผล ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
ปลูกผมเทคนิค DHI
ปลูกผมเทคนิค DHI เป็นการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษ DHI Implanter เพื่อใช้ในการปักและปลูกผมภายในครั้งเดียว ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้แพทย์ควบคุมทิศทาง ความลึก และมุมของรากผมที่นำมาปลูกได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เส้นผมที่ปลูกมีความเป็นธรรมชาติ แผลเล็กมาก ไม่มีรอยแผลเป็น ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน เป็นเทคนิคที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวล้าน
ปลูกผมเทคนิค Advance FUI
Advance FUI เป็นการเทคนิคปลูกผมที่ผสานระหว่างการปลูกผม FUE และ DHI ด้วยกัน โดยใช้เครื่องเฉพาะทาง DHI Implanter (Direct Hair Implanter) หัวเจาะขนาดเล็กมากในการโหลดกราฟผมและนำกลับไปปลูกในบริเวณที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกผม มีโอกาสสูงที่เส้นผมจะงอกใหม่ อีกทั้งแพทย์ยังสามารถควบคุมทิศทาง มุม และความลึกของรากผมได้อย่างแม่นยำ เส้นผมเรียงตัวสวยเป็นธรรมชาติ แผลขนาดเล็ก แห้งไว ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
ALMI Nano Fat กระตุ้นรากผมด้วยเซลล์ไขมันตัวเอง
ALMI Nano Fat เป็นการฉีดกระตุ้นรากผมด้วยเซลล์ไขมันตัวเอง โดยแพทย์จะเริ่มจากการดูดไขมันคนไข้จากบริเวณส่วนเกินต่าง ๆ และนำมาคัดแยกด้วยวิธีพิเศษเพื่อให้ได้เซลล์ไขมันที่เล็กที่สุด แข็งแรง และมีคุณภาพ จากนั้นนำกลับไปฉีดบริเวณศีรษะของคนไข้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมงอกใหม่มีความแข็งแรง รักษาอาการผมร่วง ผมบาง หัวล้าน อีกทั้งยังเป็นวิธีที่เหมาะมากสำหรับคนที่ต้องการปลูกผมแต่มีจำนวนเส้นผมไม่เพียงพอ ปลอดภัย ไม่เสี่ยงอาการแพ้ และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังการทำ
RIGENERA Cell Micrograft Hair ฉีดสเต็มเซลล์ปลูกผม
เป็นการฉีดสเต็มเซลล์ปลูกผมด้วยนวัตกรรม RIGENERA Cell Micrograft Hair ที่เป็นการนำเนื้อเยื่อจากหนังศีรษะด้านหลัง มาผ่านกระบวนการสกัดพิเศษด้วยเครื่อง RIGENERA จากประเทศอิตาลี เพื่อคัดแยกเฉพาะรากผมที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง จากนั้นนำกลับไปฉีดบริเวณหนังศีรษะที่มีปัญหา ช่วยให้เส้นผมร่วงน้อยลง กระตุ้นรากผมให้แข็งแรง เพิ่มจำนวนเส้นผม และช่วยให้ผมกลับมาหนาอย่างเป็นธรรมชาติ
โดย 5 เทคนิคปลูกผม ทีมแพทย์ The Skin Clinic จะพิจารณาความเหมาะสม สภาพเส้นผม สภาพหนังศีรษะ และความต้องการของคนไข้ จากนั้นให้บริการรูปแบบปลูกผมที่เหมาะสมกับปัญหามากที่สุด เพื่อให้ผลลัพธ์ความสวยงามของเส้นผมมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นไปตามที่ต้องการ หากสนใจเข้ารับการปลูกผมหรือสนใจบริการเสริมความงามใด ๆ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านทาง LINE ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
READ MORE>>>