พระราม9 แขวงห้วยขวาง 066 115 6837

tsctheskin.ads@gmail.com

โรคอ้วน 6 ประเภท คืออะไร รู้เท่าทัน พร้อมวิธีรับมืออย่างถูกต้อง

ภาวะอ้วนมีอะไรให้รู้มากกว่าที่คิด

ช่วงนี้หันไปทางไหนก็เจออาหารน่ากิน แต่ก็มีเรื่องของน้ำหนักที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นชีสเบอร์เกอร์ 20 ชิ้น เบอร์เกอร์เนื้อ 10 ชั้น หรือขนมปังพันชั้นน่ากินสุด ๆ แต่สิ่งที่ตามมาถ้าตามใจปากมากเกินไปก็คือภาวะอ้วน ซึ่งความอ้วนนี้เป็นสิ่งที่ควรระวัง เพราะเป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ มากมาย วันนี้เราจึงพามารู้จักกับโรคอ้วน 6 ประเภทที่ควรรู้จัก และแนวทางการป้องกัน

สาเหตุของโรคอ้วน

กินโดนัต
การกินมากเกินไปทำให้อ้วนได้

โรคอ้วนเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยภาวะของคนที่มีโรคอ้วนจะมีชั้นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคอ้วนมีดังนี้

– พันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรมสามารถกำหนดให้บุคคลอ้วนได้ โดยความอ้วนทางพันธุกรรมจะยากในการหลีกเลี่ยง บางคนมีความรู้สึกว่าถึงแม้จะกินน้อยก็อ้วนง่ายอยู่ดี ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะพันธุกรรม

– อาหารและยา

การกินอาหารมีผลต่อความอ้วนอย่างแน่นอน แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ายาเองก็มีผลต่อความอ้วนเช่นกัน ซึ่งยาที่มักจะทำให้อ้วน เช่น ยาแก้เครียด ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

– สภาวะอารมณ์

อารมณ์ต่าง ๆ ทำให้อ้วนง่ายขึ้น โดยเฉพาะอารมณ์เครียดและอารมณ์เศร้า การทำสภาวะอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอจึงเป็นอีกทางออกของการลดภาวะอ้วนที่จะเกิดขึ้น

– อายุ

หลายคนคงจะสังเกตได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้น ความอ้วนยิ่งเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้น้อยลง ไขมันจึงสะสมได้ง่ายขึ้น

– สิ่งแวดล้อม

สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยมีผลต่อความอ้วน เช่น คนที่อยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยอาหารฟาสต์ฟู้ดก็คุ้นชินกับอาหารฟาสต์ฟู้ดและอ้วนง่ายกว่าคนที่อยู่ในย่านอาหารคลีน

สาเหตุของความอ้วนเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ แต่หลายคนก็มองข้าม คนที่กังวลเกี่ยวกับเรื่องโรคอ้วนจึงควรระวังเรื่องการกิน สภาวะอารมณ์ และการออกกำลังกายให้มาก

โรคอ้วน 6 ประเภทและแนวทางดูแล

คู่รักกินโดนัต
การดูแลร่างกายให้ห่างไกลโรคอ้วน

การประสบปัญหาของโรคอ้วนมีหลายประเภทมาก ซึ่งเป็นการจำแนกจากลักษณะความอ้วนและพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคอ้วน ดังนี้

1.)  Obesity of food

ความอ้วนประเภทนี้มาจากการกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป คนที่มีความอ้วนแบบนี้มักจะมีพุงล่างยื่นย้อยมากกว่าปกติ แก้ไขได้ด้วยการกินอาหารที่ลดแป้งและน้ำตาลลง พร้อมออกกำลังกายกระชับสัดส่วน 30 นาที อาทิตย์ละ 4 – 5 วัน

2.) Obesity nervous stomach

ความอ้วนประเภทที่ 2 เป็นความอ้วนจากความเครียด และความรู้สึกต่าง ๆ ที่ทำให้ร่างกายเกิดความกังวล ลักษณะของหน้าท้องจะป่องตรงกลาง กดดูรู้สึกแข็งตึง แก้ไขได้ด้วยการผ่อนคลาย และออกกำลังกายที่เน้นความผ่อนคลาย เช่น โยคะ พิลาทิส เป็นต้น

3.) Gluten obesity

ความอ้วนประเภทนี้มาจากการแพ้สารอาหารบางอย่าง มักจะเป็นกลูเตน การแพ้อาหารทำให้ร่างกายอ้วนได้ง่ายขึ้น แก้ไขได้ด้วยการงดอาหารที่แพ้ ลดอาหารประเภทชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย

4.) Atheros Genic

โรคอ้วนประเภทนี้มาจากการเผาผลาญอาหาร ซึ่งการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติจะทำให้ร่างกายบางส่วนมีไขมันสะสมและไม่สมดุล แก้ได้ด้วยการงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายเพื่อปรับสมดุลร่างกาย

5.) Obesity due to venous circulation

เป็นความอ้วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ แก้ไขได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ ควรเน้นการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก แต่เรียกเหงื่อได้ดี

6.) Obesity of inactivity

ประเภทของความอ้วนสุดท้ายนี้มาจากความขี้เกียจออกกำลังกาย การไม่ขยับตัวบ่อย ๆ จะทำให้มีไขมันสะสม และเกิดเป็นโรคอ้วนได้ แก้ไขได้ด้วยการขยับตัวออกกำลังกายบ้าง

จะเห็นเลยว่าการเกิดภาวะอ้วนเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต จึงควรระมัดระวังการกิน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงหากต้องการลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การลดน้ำหนักเป็นไปตามเป้าหมาย โดยไม่ทำร้ายสุขภาพ

>>> ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการลดน้ำหนัก…ที่นี่ <<<

READ MORE >>